Last updated: 17 มี.ค. 2563 | 40399 จำนวนผู้เข้าชม |
สีทับหน้า ( Top Coat ) เป็นสีขั้นสุดท้ายที่จะให้คุณสมบัติที่สวยงาม คงทน เงางาม มีสีมากมายให้เลือกใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ และขึ้นอยู่กับรสนิยมและความพอใจ ปัจจุบันสีทับหน้ามีหลากหลายรุ่น หลากหลายคุณภาพ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆตามวัสดุที่ใช้ทำสีและลักษณะของการใช้งาน ได้แก่ สีน้ำอะครีลิค และสีเคลือบเงา
สีน้ำอะครีลิค (Acrylic Emulsion Paint)
เป็นสีน้ำพลาสติกที่ผลิตขึ้นจากลาเท็กซ์ พีวีเอซี โคพอลิเมอร์ (Latex PVAc Copolymer) ผสมกับแม่สี เป็นสีที่สามารถใช้น้ำเป็นตัวทำละลายหรือผสมสีให้เจือจาง แต่เมื่อสีแห้งได้ที่แล้วจะไม่ละลายน้ำหรือหลุดออกไปตามน้ำใช้สำหรับงานทาผิวพื้นปูนหรือคอนกรีตทั่วไป รวมทั้งอิฐและกระเบื้องแผ่นเรียบยังสามารถ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ สีสำหรับทาภายใน และ สีสำหรับทาภายนอก การใช้งาน ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย
รูปภาพจาก : researchmatters
สีน้ำมัน (Enamel) หรืออาจเรียกอีกสีหนึ่งว่า สีเคลือบเงา (Gloss Enamel)
เป็นสีน้ำมันที่ผลิตขึ้นจาก แอลคิดเรซิน (Alkyd Resin) ผสมกับแม่สี ใช้น้ำมัน หรือทินเนอร์ เป็นตัวทำละลายหรือผสมสีให้เจือจาง ใช้สำหรับงานทาไม้และโลหะหรือแม้แต่ทาผิวปูนและ คอนกรีต เพื่อให้เกิดความเงางาม ทำความสะอาด ได้ง่าย ซึ่งสีน้ำมันแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติพิเศษ ที่แตกต่างกันออกไป ตามลักษณะของ การใช้งาน เช่น สีบางประเภทอาจจะต้องมีคุณสมบัติที่ทนต่อน้ำเค็ม สารเคมี หรือ ความร้อนเป็นต้น แต่สีน้ำมันที่ใช้สำหรับ ทาบ้านซึ่ง ส่วนใหญ่มักจะใช้ทาวงกบ ประตู หน้าต่าง หรือบางส่วนที่เป็นเหล็กนั้นจะเป็นสีน้ำมันชนิดทั่วไป
ก่อนการใช้งาน ใช้น้ำมันสนหรือทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย
น้ำมันสน ใช้ผสมสีน้ำมัน สีทากันสนิม สีทาเหล็กใช้สำหรับสีที่แห้งช้าและต้องการความหนาของสี สีจะแห้งช้า ให้ความเงาสูง เวลาล้างไม่แสบร้อนมาก กลิ่นไม่แสบจมูกไม่เมาหรือเวียนหัว
ทินเนอร์ เป็นของเหลวอินทรีย์ระเหยง่าย ช่างเมืองไทยหลายคนนิยมนำมาผสมสีเคลือบเงา หรือสีรองพื้นกันสนิม จะใช้เพื่อลดความหนืดเป็นสารทำละลายที่ทำให้สีเจือจาง มีความเหลวพอที่จะทาได้ง่าย และยังใช้สำหรับล้างแปรงทาสีได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามผู้ผลิตสีส่วนใหญ่จะแนะนำให้ช่างเลือกให้น้ำมันสนเป็นตัวทำละลายมากกว่าเพราะให้คุณสมบัติความคงทนที่ดีกว่า
สรุปความแตกต่างสีพลาสติก emulsion และสีน้ำมันหรือสีเคลือบเงา gloss enamel
13 ก.ย. 2564
14 ก.ย. 2564